
ทานบารมี : ทรงบริจาคทรัพย์สินพระกุมารทั้งสองและพระมเหสี
ศีลบารมี : ทรงรักษาศีลอย่างเคร่งครัดระหว่างทรงผนวชอยู่ ณ เขาวงกต
เนกขัมมบารมี : ทรงครองเพศบรรพชิตตลอดเวลาที่ประทับณเขาวงกต
ปัญญาบารมี : ทรงบำเพ็ญภาวนามัยปัญญาตลอดเวลาที่ทรงผนวช
วิริยาบารมี : ทรงปฏิบัติมิได้ย่อหย่อน
สัจจบารมี : ทรงลั่นพระวาจายกกุมารให้ชูชกเมื่อพระกุมารหลบหนีก็ทรงติดตามให้
ขันติบารมี : ทรงอดทนต่อความยากลำบากต่าง ๆ ขณะที่เดินทางมายังเขาวงกตและ
ตลอดเวลาที่ประทับ ณ ที่นั่นแม้แต่ตอนที่ทอดพระเนตรเห็นชูชกเฆี่ยนตี
พระกุมารอย่างทารุณพระองค์ก็ทรงข่มพระทัยไว้ได้
เมตตาบารมี : เมื่อพราหมณ์เมืองกลิงคราษฎร์มาทูลขอช้างปัจจัยนาคเนื่องจากเมือง
กลิงคราษฎร์ฝนแล้งก็ทรงพระเมตตตาประทานให้และเมื่อชูชกมาทูลขอ
สองกุมารอ้างว่าตนได้รับความลำบากต่างๆพระองค์ก็มีเมตตาประทานให้ด้วย
อุเบกขาบารมี : เมื่อทรงเห็นสองกุมารถูกชูชกเฆี่ยนตีวิงวอนให้พระองค์ช่วยเหลือทรงบำเพ็ญ
อุเบกขาคือทรงวางเฉยเพราะทรงเห็นว่าได้ประทานเป็นสิทธิ์ขาดแก่ชูชกไป
อธิษฐานบารมี : คือทรงตั้งมั่นที่จะบำเพ็ญบารมีเพื่อให้สำเร็จโพธิญาณาเบื้องหน้าก็มิได้ทรง
ย่อท้อจนพระอินทร์ต้องประทานความช่วยเหลือต่าง ๆ เพราะพระทัยอันแน่ว
แน่ของพระองค์
การกลับชาติมาเกิดของบุคคลในมหาชาติ
พระเวสสันดร กลับชาติมาเกิดเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ
พระเจ้ากรุงสญชัย กลับชาติมาเกิดเป็นพระเจ้าสุทโทนะ
พระนางผุสดี กลับมาเกิดเป็นพระนางสิริมหามายา
พระนางมัทรี กลับชาติมาเกิดเป็นพระนางยโสธราพิมพา
พระชาลี กลับชาตมาเกิดเป็นพระราหุล
พระกัณหา กลับชาติมาเกิดเป็นนางอุบลวรรณาเถรี
ชูชก กลับชาติมาเกิดเป็นเทวทัต
นางอมิตตดา กลับชาติมาเกิดเป็นพระนางจิญจมาณวิกา
พระอจุตฤๅษี กลับชาติมาเกิดป็นพระสาลีบุตร
พรานเจตบุตร กลับชาติมาเกิดเป็นพระฉันนเถระ
พระเสสุกรรม กลับชาตมาเกิดเป็นพระโมคคลลานะ
เครื่องกัณฑ์เทศน์

จำนวนพระคาถาตามลำดับคือ
๑) กัณฑ์ทศพร ๑๙ พระคาถา
๒) กัณฑ์หิมพานต์ ๑๓๔ พระคาถา
๓) กัณฑ์ทานกัณฑ์ ๒๐๙ พระคาถา
๔) กัณฑ์วนปเวสน์ ๕๗ พระคาถา
๕) กัณฑ์ชูชก ๗๙ พระคาถา
๖) กัณฑ์จุลพล ๓๕ พระคาถา
๗) กัณฑ์มหาพน ๘๐ พระคาถา
๘) กัณฑ์กุมาร ๑๐๑ พระคาถา

๑๐) กัณฑ์สักกบรรพ ๔๓ พระคาถา
๑๑) กัณฑ์มหาราช ๖๙ พระคาถา
๑๒) กัณฑ์ฉกษัตริย์ ๓๖ พระคาถา
๑๓) กัณฑ์นครกัณฑ์ ๔๘ พระคาถา