คำศัพท์


คำศัพท์
ความหมาย
กบิลพัสดุ์
ชื่อเมืองหลวงของแคว้นสักกะหรือศากยะ เป็นเมืองของพระเจ้าสุทโธทนะ พระราชบิดาของเจ้าชาย   สิทธัตถะ ปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศเนปาล ติดชายแดนตอนเหนือของประเทศอินเดีย ที่ได้ชื่อว่า กบิลพัสดุ์ เพราะเดิมเป็นที่อยู่ของ กบิลดาบส
กะเพราแดง
ต้นฉบับสะกดเป็น กระเพราแดง ชื่อไม้ล้มรุกชนิด Ocimum tenuiflorum L. ในวงศ์ Labiatae กลิ่นฉุน พันธุ์ที่กิ่งและก้านใบสีเขียวอมแดงเรียกกะเพราแดง ใช้ทำยาได้
กำเลาะ
หนุ่ม สาว
คันธกุฎี
พระกุฎีที่ประทับของพระพุทธเจ้า เป็นคำเรียกที่ใช้ทั่วไปในคัมภีร์ชั้นอรรถกถาลงมา
คาถาพัน
เป็นชื่อเรียกที่ใช้เรียกบทประพันธ์เรื่องมหาเวสสันดรชาดก ซึ่งแต่งเป็นคาถา(คำประพันธ์ประเภทร้อยกรองในภาษาบาลี)ล้วนๆ พันบท เรียกการเทศน์มหาเวสสันดรชากดที่เป็นคาถาล้วนๆ อย่างนี้ว่า  เทศน์คาถาพัน
จัมมาภรณ์
เครื่องประดับ หรือในที่นี้คือ เสื้อผ้า ที่ทำจากหนังสัตว์ (จัมมะ = หนัง + อาภรณ์ เครื่องประดับ)
จุณณียบท
ต้นฉบับสะกดเป็น จุณณิยบท แปลว่า บทบาทเล็กน้อย ที่ยกขึ้นแสดงก่อนเนื้อความ
จุติ
เคลื่อน (จากภพหนึ่ง ไปสู่ภพอื่น) ตาย (ในภาษบาลีใช้ได้ทั่วไป แต่ในภาษไทยส่วนมากใช้แก่เทวดา) ในภาษาไทย บางทีเข้าใจผิดและใช้กันผิดไปไกล ถึงกับเพี้ยนแปลเป็น เกิด ก็มี
ฉัพพรรณรังสิโยภาส
หรือ ฉัพพรรณรังสี คือ รัศมี ๖ ประการ ซึ่งเปล่งออกจากพระวรกายของพระพุทธเจ้าคือ
 ๑.      นีละ เขียวเหมือนดอกอัญชัน
๒.    ปีตะ เหลืองเหมือนหรดาลทอง
๓.     โลหิตะ แดงเหมือนตะวันอ่อน
๔.     โอทาตะ ขาวเหมือนแผ่นเงิน
๕.     มัญเชฏฐะ สีหงสบาทเหมือนดอกเซ่งหรือหงอนไก่
เฉนียน
ฝั่งน้ำ มาจากภาษเขมร เฉนร ซึ่งแปลว่า ชายฝั่ง
เฉวียง
ซ้าย เอียง ตะแคง ทแยง
ชฎิล
นักบวชประเภทหนึ่ง เกล้าผมเป็นมวยสูงขึ้น มักถือลัทธิบูชาไฟ บางครั้งจัดเข้าในพวกฤๅษี
ชะมด
ในความที่ว่า ราเชนชะมดหมู่กระวานว่านวิเศษ” หมายถึง ชื่อมะกรูดพันธ์หนึ่ง
ดาวดึงส์
ชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๒ แห่งสวรรค์ ๖ ชั้น มีจอมเทพผู้ปกครองชื่อท้าวสักกะ ซึ่งโดยทั่วไปหรือทั่วไปเรียกกันว่า พระอินทร์ ในอรรถกถา อธิบายความหมายของ ดาวดึงส์ ว่า คือ แดนที่คน ๓๓ คน ผู้ที่ทำบุญร่วมกันได้อุบัติ (จำนวน ๓๓ บาลีว่า เตตฺตึส เขียนตามรูปสันสกฤต เป็น ตรัยตรึงศ์ หรืเพี้ยนเป็น ไตรตรึงษ์ ซึ่งในภาษาไทยก็เป็นคำเรียกดาวดึงส์นี้ด้วย
ทลิททก
ยากจน เข็ญใจ
ทศพร
พร ๑๐ ประการที่พระผุสดีทูลขอท้าวสักกะ เมื่อจะจุติจากเทวโลกมาอุบัติในมนุษยโลก ได้แก่
๑.      อคฺคมมเหสิภาโว ขอให้ได้ประทับในพระราชนิเวศน์ (เป็นอัครมเหสี) ของพระเจ้าสีวิราช
๒.    นีลเนตฺตตา ขอให้มีดวงเนตรดำตาลูกมฤคี
๓.     นีลภมุกตา ขอให้มีขนคิ้วสีดำนิล
๔.     ผุสฺสตีติ นาม ขอให้มีนามว่า ผุสดี
  ๕.     ปุตฺตปฏิลาโภ ขอให้ได้พระราชโอรส ผู้ให้สิ่งประเสริฐ มีพระทัยโอบเอื้อ ปราศความตระหนี่ ผู้อันราชาทั่วทุกรัฐบูชา มีเกียรติยศ
๖.      อนุนฺนตกุจฉิตา เมื่อทรางครรภ์ขออย่าให้อุทรป่องนูน แต่พึงโค้งดังคันธนูที่นายช่างเหลาไว้เรียบเกลี้ยงเกลา
๗.     อลมฺพตฺถนตา ขอยุคลถันอย่าได้หย่อนยาน
๘.     อปลิตภาโว ขอเกศาหงอกอย่าได้มี
๙.      สุขุมจฺฉวิตา ขอให้มีผิวเนื้อระเอียดเนียนธุลีไม่ติดกาย
๑๐.  วชฺฌปฺปโมจนสมตฺถตา ขอให้ปล่อยนักโทษประหารได้
ทศพลญาณ
หรือ ทสพลญาณ  คือ พระญาณเป็นกำลังของพระพุทธเจ้า ๑๐ ประการ เรียกตามบาลีว่า ตถาคตพลญาณ (ญาณเป็นกำลังของพระตถาคต) ๑๐ คือ
๑.      ฐานาฐานญาณ รู้เหตุที่ควรเป็นได้และมิใช่เหตุที่ควรเป็นได้
๒.    กรรมวิปากญาณ รู้ผลของกรรม
๓.     สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ รู้ทางไปสู่ภูมิทั้งปวง
๔.     นานาธาตุญาณ รู้ธาติต่างๆ
๕.     นานาธิมุตติกญาณ รู้อัธยาศัยแห่งสัตว์อันเป็นต่างๆกัน
๖.      อินทริยปโรปริยัตตญาณ รู้ความหย่อนและยิ่งแห่งอินทรีย์สัตว์ทั้งหลาย เป็นต้น
 ๗.     ญานาทิสังกิเลสาทิญาณ รู้อาการมีเศร้าหมองแห่งธรรม มี ฌาน เป็นต้น
๘.     ปุพเพนิวาสานุสติญาณ รู้ระลึกชาติก่อนได้
๙.      จุตูปปานญาณ รู้จุติและปฏิสนธิแห่งสัตว์ที่ต่างกันโดยกรรม
๑๐.  อาสวักขยญาณ รู้จักทำให้อาสวะสิ้นไป
ทุกูล
ผ้าอย่างดี มักใช้คำว่า ผ้าทุกูลพักตร์
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
ต้นฉบับสะกดเป็น ธรรมจักกัปปวัตตนสูตร เป็นพระสูตรที่ว่าด้วยการยังธรรมจักรให้เป็นไป การหมุนวงล้อธรรม เป็นชื่อของปฐมเทศนา คือพระธรรมเทศนาครั้งแรก ซึ่งประพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระปัญจวัคคีย์ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘
นิโครธาราม
อารามที่พระญาติสร้างถวายพระพุทธเจ้า อยู่ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์
เนรเทศ
บังคับให้ออกไปเสียจากประเทศหรือถิ่นที่อยู่ของตน
บารมี
คุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวดเพื่อบรรลุมุ่งหมายอันสูงยิ่ง บารมีพระโพธิสัตว์ต้องบำเพ็ญให้ครบบริบูรณ์ จึงจะบรรลุโพธิญาณ เป็นพระพุทธเจ้า มี ๑๐ ประการ ได้แก่
๑.      ทาน การให้ การเสียสละเพื่อช่วยเหลือมวลมนุษย์สรรพสัตว์
๒.    ศีล ความประพฤติถูกต้องสุจริต
๓.     เนกขัมมะ ความปลีกออกจากกามได้ ไม่เห็นแก่การเสพบำเรอ การออกบวช
๔.     ปัญญา ความรอบรู้เข้าถึงความจริง รู้จักคิดพิจารณาแก้ไขปัญหาและดำเนินการจัดการต่างๆให้เสร็จเรียบร้อย
๕.     วิริยะ ความเพียรแกล้วกล้าบากบั่นทำการ ไม่ทอดทิ้งธุระหน้าที่
๖.      ขันติ  ความอดทน ควบคุมตนอยู่ได้ในธรรม ในเหตุผล และในแนวทางเพื่อจุดหมายอันชอบ ไม่ยอมบรรลุอำนาจกิเลส
๗.     สัจจะ ความจริง ความซื่อสัตย์ จริงใจ จริง
 ๘.     อธิษฐาน ความตั้งใจมั่น ตั้งจุดหมายไว้ดีงามชัดเจนและมุ่งไปเด็ดเดี่ยวแน่วแน่
๙.      เมตตา ความรัก ความปรารถนาดี คิดเกื้อกูลหวังให้สรรพสัตว์อยู่ดีมีความสุข
๑๐.  อุเบกขา ความวางใจเป็นกลาง อยู่ในธรรม เรียบสงบสม่ำเสมอ ไม่เอนเอียง ไม่หวั่นไหวไปด้วยความยินดียินร้าย ชอบชัง หรือแรงเย้ายั่วยุใดๆ
บุตรทารทาน
การให้ทานโดยสละบุตรและภรรยา (ทาร)
เบญจบุรพนิมิต
ลางบอกเหตุล่วงหน้า เมื่อเทวดาจะจุติจากสวรรค์ลงมาเกิดในโลกมนุษย์ มี ๕ ประการ ได้แก่
๑.      ดอกไม้ประดับวิมานเหี่ยวแห้ง
๒.    เครื่องทรงเศร้าหมอง
๓.     เหงื่ออกทางรักแร้ทั้งสองข้าง
๔.     ผิวพรรณเศร้าหมอง
๕.     เบื่อหน่ายทิพยอาสน์
เบญจวัคคีย์
ภิกษุจำพวกหนึ่งมี ๕ รูป ผู้ได้ฟังธรรมเทศนาทีแรกคือ
 ๑.      พระอัญญาโกณฑัญญะ
๒.    พระวัปปะ
๓.     พระภัททิยะ
๔.     พระมหานาม
๕.     พระอัสสชิ
โบกขรพรรษ
ฝนดุจตกลงบนใบบัวหรือในกอบัว เป็นฝนที่ตกลงมาในกาละพิเศษ มีสีแดง ฝนชนิดนี้มีกล่าวไว้ว่า ผู้ใดต้องการให้เปียกฝน ก็เปียก ผู้ใดต้องการให้ไม่เปียก ก็ไม่เปียก แต่เม็ดฝนจะกลิ้งหล่นจากกาย ดุจหยาดน้ำหล่นบนใบบัว
ปฏิสัมภิทา
ปัญญาแตกฉาน มี ๔ ประการ ได้แก่
๑.      อัตถปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในอรรถ
๒.    ธัมมปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในธรรม
๓.     นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในทางนิรุตติ คือ ภาษา
๔.     ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ คือ ไหวพริบ
ปริยโยสาน
สุดลงโดยรอบ (หมายความว่า ที่สุดหรือจบลงอย่างบริบูรณ์แล้ว), จบ
ปิยบุตรทาน
ให้ลูกให้ทาน
พเนจร
ผู้เที่ยวป่า พรานป่า โดยปริยายหมายความว่า ร่อนเร่ไป เที่ยวไปโดยไร้จุดหมาย
พระผู้เป็นเจ้า
พระภิกษุ เทพผู้เป็นใหญ่ เทพสูงสุดที่นับถือว่าเป็นผู้สร้างสรรค์บันดาลทุกสิ่งทุกอย่าง คนไทยใช้คำว่า พระผู้เป็นเจ้า เป็นคำเรียก พระภิกษุ มาแต่โบราณ ต่อมาเมื่อสนิกแห่งศาสนาที่นับถือเทพเป็นใหญ่ ใช้คำนี้เรียกเทพสูงสุดของตนกันแพร่หลาย พุทธศาสนิกชนจึงใช้คำนี้น้อยลง
ภัทรกัป
  ภัทรกัปหรือภัทกัป แปลว่า กัปอันเจริญหรือดีแท้เป็นชื่อของกัปปัจจุบันนี้คือกัปที่มีพระพุทธเจ้าอุบัติ ๕ พระองค์ คือ
๑.      พระกกุสันธะ
๒.     พระโกนาคมน์
๓.      พระกัสสปะ
๔.     พระโคตรมะ
๕.     พระเมตไตรย์
ภิกษาจาร
การเที่ยวขอ การเที่ยวขออาหาร
ยมกปาฏิหาริย์
ปาฏิหาริย์ที่แสดงเป็นคู่ๆ เป็นปาฏิหาริย์ที่พระพุทธเจ้าทรงกระทำที่ต้นมะม่วงซึ่งเรียกว่า คัณฑามพพฤกษ์ คือ ทรงบันดาลท่อน้ำท่อไฟจากส่วนของพระวรกายเป็นคู่ๆ กัน
ราขคฤหบุรี
หรือ ราชคฤห์ นครหลวงของแคว้นมคธ เป็นนครที่มีความเจริญรุ่งเรือง เต็มไปด้วยคณาจารย์เจ้าลัทธิ พระพุทธเจ้าทรงเลือกเป็นภูมิที่กประดิษฐานพระพุทธศาสนาเป็นปฐม
วัปป
การหว่านพืช เช่น พิธีวัปปมงคล
สมุจเฉทปหาร
ต้นฉบับสะกดเป็น สมุเฉทประหาร ประหารณ หมายถึง การละกิเลสได้โดยเด็ดขาดด้วยอริยมรรค
สังสารวัฏ
การเวียนเกิดเวียนตาย การเวียนว่ายตายเกิด ด้วยอำนาจกิเลส กรรม และวิบาก
สัตตสดกมหาทาน
การทำทานครั้งใหญ่โดยให้สิ่งของ ๗ อย่าง อย่างละ ๗๐๐ ได้แก่ ช้าง ๗๐๐ ม้า ๗๐๐ รถ ๗๐๐ สตรี ๗๐๐     โคนม ๗๐๐  ทาสชาย ๗๐๐ และทาสหญิง ๗๐๐
สัพพัญญู
ผู้รู้ธรรมทั้งปวง ผู้รู้ทั่วทั้งหมด พระนามของพระพุทธเจ้า
สารสิบตระกูล
ช้าง ๑๐ ตระกูล คือ
๑.      การฬาวกหัตถี สีดำ
๒.    คังไคยหัตถี สีน้ำ
๓.     ปัณฑรหัตถี สีขาวดั่งเขาไกลาส
๔.     ตามพหัตถี สีทองแดง
๕.     ปิงคลหัตถี สีทองอ่อนดั่งสีตาแมว
๖.      คันธหัตถี สีไม้กฤษณา ช้างตระกูลนี้มีกลิ่นตัวหอม
๗.     มังคลหัตถี สีนิลอัญชัน ช้างตระกูลนี้กิริยาท่าทางเวลาเดินงดงาม
๘.     เหมหัตถี สีเหลืองดั่งสีทอง
๙.      อุโบสถหัตถี สีทองคำ
๑๐.  ฉันทันตหัตถี ช้างตระกูลนี้มีสีกายขาวบริสุทธิ์ดังสีเงินยวง ตาปากและเท้ามีสีแดง
สุคนธชาติ
ของหอม เครื่องหอม ๑๐ อย่าง คือ
๑.      มูลคันธะ รากหอม
  ๒.    สารคันธะ แก่นหอม
๓.     เผคคัคันธะ กระพี้หอม
๔.     ตกคันธะ เลือกหอม
๕.     ปัปปฏากคันธะ สะเก็ดหรือกะเทาะหอม
๖.      รสคันธะ ยางหอม
๗.     ปัตตัคนธะ ใบหอม
๘.     ปุปผคันธะ ดอกหอม
๙.      ผลคันธะ ผลหอม
๑๐.  สัพพคันธะ หอมทุกอย่าง
อภิญญาณ
 หรือ อภิญญา คือ ความรู้ยิ่ง ในทางพระพุทธศาสนามี ๖ อย่าง คือ
๑.      อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้
๒.    ทิพพโสต หูทพย์
๓.     เจโตปริยญาณ กำหนดรู้จิดของผ็อื่นได้
๔.     ปุพเพนิวาสานุสติ ระลึกชาติได้
๕.     ทิพพจักขุ ตาทิพย์
๖.      อาสวักขยญาณ รู้จักทำอาสวะให้สิ้นไป